วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

ถุงมือยางพารรา

ถุงมือยางพารา
อุตสาหกรรมยางพารา เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญมากของไทย สร้างรายได้นับแสนล้านบาท จากข้อมูลของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ในปี 2552 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยางพารามีมูลค่าสูงถึง 402,563 ล้านบาท นอกจากอุตสาหกรรมยางพารายังมีผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจระดับชาติแล้ว ยังมีผลกระทบต่อแรงงาน โดยมีผู้อยู่ในอุตสาหกรรมประมาณ 106,844 คน อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางกว่าหนึ่งล้านครัวเรือน นอกจากผลกระทบที่กล่าวมาแล้ว สวนยางพาราเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ โดยมีข้อมูลจากสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร วงจรชีวิตของสวนยาง 25 ปี สามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 42.65 เมตริกตันต่อไร่ 

   ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่ายางพารานับว่ามีความสำคัญต่อประเทศชาติในหลาย ๆ ด้าน และเมื่อกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ยาง ปัจจุบันเราคงคุ้นเคยและเคยชินกับการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากยางธรรมชาติ จนบางครั้งอาจมองเป็นเรื่องปกติและอาจจะขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น ยางเส้น ยางรัดของ ยางฟองน้ำ รองเท้ายาง หัวนมยาง ลูกโป่ง และถุงยางอนามัย เป็นต้น แต่ยังมีผลิตภัณฑ์ยางอีกชนิดหนึ่งที่เราอาจไม่คุ้ยเคย หรือมีใช้ในชีวิตประจำวันมากนัก คือ ถุงมือยาง ปัจจุบันมีการใช้งานอยู่ในหลายรูปแบบ และหลายวงการอุตสาหกรรม ได้แก่ ถุงมือยางสำหรับวงการแพทย์ (Medical Glove) ถุงมือยางสำหรับใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Glove) และ ถุงมือยางสำหรับใช้ในครัวเรือน (Household Glove) ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มถุงมือยาง เราเรียกว่า ผลิตภัณฑ์ยางจากกระบวนการจุ่ม (Dipping Products) อันที่จริง กลุ่มผลิตภัณฑ์จากกระบวนการจุ่ม (Dipping) ยังมีอีกหลายชนิด เช่น หัวดูดนมเด็ก กระเป๋ายางน้ำร้อน ยางสวมนิ้ว ชุดกีฬาทางน้ำ ลูกโป่ง ตุ๊กตายาง และอื่น ๆ อีกมากมาย 

อ่านต่อที่//http://thailandindustry.com/guru/view.php?id=19105

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

การทำถนนยางพารา

ถนนยางพารา
จากการที่รัฐบาล ตั้งเป้าหมายแปรรูปยางพาราเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 500,000 ตัน จะเพิ่มรายได้ให้กับประเทศเป็น 2 เท่าของการส่งยางดิบ 3.6 ล้านตันออกไปต่างประเทศ ทำให้ดุลการค้ายางดิบที่เหลือของโลก สามารถเปลี่ยนแปลงราคายางดิบได้อย่างมีพลังด้วย
อีกสิ่งที่น่าสนใจคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีความพยายามจะผลักดันโครงการนำยางธรรมชาติ (ยางพารา) มาใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้าง และบำรุงรักษาถนนอีกครั้ง ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา มีการวิจัยอย่างจริงจัง มีการทดสอบมานานนับ 10 ปีแล้ว ในการนำยางพารามาผสมกับยางมะตอยเพื่อราดถนน
พ.ศ.2500 มีการราดถนนผสมยางพาราทำครั้งแรก แต่ในยุคนั้นไม่มีข้อมูลทางวิชาการมาสนับสนุนว่า คุณสมบัติมันดีขึ้นอย่างไร รู้แต่ว่ามันเหนียวขึ้น แข็งแรงขึ้น แต่ไม่มีข้อมูลเป็นตัวเลขเชิงวิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2542 ยางราคาตกต่ำ จึงมีการรื้อฟื้นเรื่องนี้ใหม่ เป็นที่มาของการทำวิจัยเชิงลึก ซึ่งเริ่มแรกเป็นงานวิจัยในห้องแล็บ เพื่อหาเปอร์เซ็นต์ที่เหมาะสมของยางพารา จนกระทั่งได้ตัวเลขที่ลงตัวคือ 5 - 6% โดยคุณสมบัติที่ได้คือ แข็งแรงมากขึ้น ทนต่อความร้อนมากขึ้น
มีจุดหลอมตัวสูงขึ้นจาก 50 องศาเป็น 60 องศา และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น มีการคืนตัวกลับดีขึ้น มีการสร้างเครื่องผสมยางพารา กับยางมะตอยเป็นไพลอตโปรเจ็กต์ 2 แบบคือ เครื่องผสมยางแห้ง และเครื่องผสมน้ำยางข้น โดยผสมได้ครั้งละ 5 ตัน
พ.ศ. 2545 กรมทางหลวง ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยฯ ทดลองราดถนนสาธารณะที่ด้านหน้าศูนย์วิจัย ระยะทางประมาณ 300 เมตร จากนั้นได้เก็บตัวอย่างถนนที่เสร็จแล้ว 2 แบบ ไปทดสอบในห้องแล็บ ทดสอบใช้ล้อเหล็กวิ่งทับจำนวน 2 หมื่นรอบ ผลปรากฏว่า ถนนที่ตัดมาจากผสมยางพารายุบน้อยกว่าที่ไม่ผสม ในอัตราส่วน 1 ต่อ 2.9 เท่า
แต่เนื่องจากสมัยนั้นไม่มีเครื่องผสมในเชิงพาณิชย์ เพราะปกติการทำถนนแต่ละครั้ง ต้องผสมเป็นร้อยตัน จึงได้ทดลองทำถนนในหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรทั่วทุกภาค รวมแล้วประมาณ 50 แห่ง กรมทางหลวง ยอมรับผลว่าดีกว่า ทนกว่าจริง ถนนหน้าศูนย์วิจัยนี้ใช้มา 12 ปีแล้ว ยังไม่ต้องซ่อมเลย แค่ให้ทนกว่าเท่าเดียวก็คุ้มแล้ว
พ.ศ. 2556 กรมทางหลวง ได้ออกสเป็กถนนแอสฟัลติก ที่ราดด้วยยางมะตอยผสมยางพาราแล้ว และปีที่แล้ว สำนักงบประมาณ ก็ออกราคากลางมาเป็นราคากลางเฉพาะผิวทางมาตรฐาน 5 เซนติเมตร ในราคาตารางเมตรละ 380 บาท ขณะที่แบบเดิมตารางเมตรละ 320 บาท แต่ถ้าคิดทั้งถนนรวมโครงสร้างด้วย ราคาจะขึ้นมาแค่ 5% ของราคาถนนทั้งหมด
เช่น สร้างถนน 1,000 ล้านบาท ถ้าใช้แบบผสมก็เพิ่มขึ้นมาอีก 5% เท่านั้น คือ 1,050 ล้านบาท แต่ถ้ามันทนกว่า 1 เท่า และช่วยเหลือชาวสวนยาง ย่อมจะคุ้มและได้ประโยชน์ โดยประเทศมาเลเซียสนใจงานวิจัยนี้มาก เมื่อปลายปี 2557 คณะรัฐมนตรีมาเลเซียเดินทางมาดูงานเรื่องถนนโดยเฉพาะ หลังจากนั้นได้ส่งคนจาก Malaysian Rubber Board-MRB และ กรมทางหลวง มาศึกษารายละเอียด
พ.ศ. 2558 ศูนย์วิจัยฯ จะทำวิจัยต่อยอดหาค่า Breaking Resistance เกี่ยวกับการลื่นไถล ซึ่งปกติจะทำในล้อรถ แต่จะมีการดัดแปลงมาทำในถนน เมื่อได้ค่าพวกนี้แล้ว จะนำไปเสนอต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา หรือ จีน หากได้รับความสนใจ ผลที่ได้คือจะมีการใช้ยางมากขึ้น
สำหรับเมืองไทยตอนนี้ทำได้ทันที เพราะว่ามีสเป็กแล้ว มีราคากลางแล้ว เอกชนตอนนี้ก็มีคนทำผสมแล้ว ถ้าทำได้ยางส่วนหนึ่งในประเทศจะถูกนำไปใช้จำนวนมาก ตอนนี้ที่ประชุมนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ ได้ข้อสรุปว่า มีทางเดียวคือใช้ยางพาราผสมราดถนน แม้ว่าค่าก่อสร้างจะสูงกว่าปกติก็ต้องทำ
ขั้นตอนการก่อสร้าง เหมือนกับการทำถนนทั่วไปทุกอย่าง แต่จะยุ่งยากในขั้นตอนการผลิตที่ต้องนำหัวเชื้อที่เรียกว่า Para Ac 60/70 ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างยางพารา กับ ยางมะตอย มากวนผสมให้เข้ากับยางมะตอย ซึ่งต้นทุนก่อสร้างจะแพงกว่าปกติประมาณ 30%
แต่เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีคุณสมบัติที่แข็งแรงกว่าเดิม ตอนนี้ผู้ผลิต Para Ac 60/70 มีเอกชนบริษัทเดียวที่ผลิตได้ แต่หากมีนโยบายจากภาครัฐที่ชัดเจนให้ภาครัฐทุกหน่วยงาน ก่อสร้างและปรับปรุงถนนด้วยยางพารา ต่อไปจะมีทุกบริษัท
ขณะนี้ทหารได้เริ่มแผนงานซ่อมแซมถนน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 37 เส้นทาง รวมระยะทาง 164 กิโลเมตร ภายใต้งบประมาณ 826 ล้านบาท ในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และในพื้นที่ 4 อำเภอจังหวัดสงขลา ได้แก่ เทพา สะบ้าย้อย นาทวี และจะนะ โดยจะใช้น้ำยางพาราที่รับซื้อจากเกษตรกร มาใช้ซ่อมถนน
ซึ่งจะมีประสิทธิภาพกว่าถนนที่ราดยางมะตอย 2.9 เท่า อายุการใช้งานมากกว่า 2 เท่า สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย จากการบำรุงรักษาถนนในระยะยาวได้ แม้จะมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าการใช้ยางมะตอยถึง 15 - 20% คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2558
อบจ.สงขลา อาสาทำเป็นแห่งแรก นำร่องราดถนนสายบ้านเกาะหมี่ อ.หาดใหญ่ ระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร พร้อมคูระบายน้ำใช้งบประมาณ 27 ล้านบาท จะดำเนินการในต้นปี 2558 นี้ ขณะเดียวกันในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กองทัพบก ก็กำลังจะเริ่มบิ๊กโปรเจ็กต์ทำถนนยางพารา
สำนักงานทางหลวงชนบทตรัง นำร่องสร้างถนนยางพาราสายแรกของ จ.ตรัง เพื่อความปลอดภัยให้ผู้ใช้รถใช้ถนน โดยได้จ้างเหมาทำถนนลาดยางพาราสเลอรี่ซีล บ้านโคกยาง อ.สิเกา ถึง อ.กันตัง จ.ตรัง ความยาว 2,620 เมตร ผิวทางกว้าง 6 เมตร ไหล่ทางข้างละ 1 เมตร
ทางจังหวัด และองค์กรท้องถิ่น ได้พาคณะสื่อมวลชน มาดูการซีลยางพาราหน้าผิวจราจรบนถนนสายดังกล่าว ซึ่งผู้รับเหมาได้ดำเนินการซีลยาง เพื่อให้คณะดูประสิทธิภาพของยางพารา ส่วนผสมของยางพาราธรรมชาติกับยางมะตอยนั้นผสมแค่ 5% เท่านั้น
ถนนเส้นนี้ใช้ยางพาราไป 600 กิโลกรัม คุณสมบัติยางพาราธรรมชาติ มีความทนทาน และรถวิ่งยึดเกาะถนน ราคาจะสูงกว่าปกติประมาณ 10% แต่คุ้มค่าและช่วยชาวสวนยาง
ในภาคเหนือ มีการนำร่องราดถนนผสมยางพารา กับยางมะตอย โปรเจ็กต์ใหญ่ปรับปรุงถนนขนาด 2 ช่องจราจร กว้าง 6 เมตร ระยะทาง 6.6 กิโลเมตร ภายในพื้นที่เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ โดยเพิ่งทำเสร็จในเดือน ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีโครงการเล็ก ๆ อีก 5-6 โครงการ
ยางพารา นำมาถนนได้จริง และมีผลการวิจัยจากหน่วยงานของรัฐรับรอง มีราคากลางของสำนักประมาณ มีสเป็กถนนแอสฟัลติก ที่ราดด้วยยางมะตอย ผสมยางพารา โดยกรมทางหลวง ไม่ลื่นเมื่อถูกฝนอย่างที่หลายคนเข้าใจ..เงินทองไม่รั่วไหล ไม่ต้องรอเมืองนอกซื้อ ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ
แก๊งค์เผาไทย และกลุ่มติดอาวุธ นปช.เอายางมาเผาเมือง 2 ปีซ้อน..แต่รัฐบาลนี้เอายางพารา มาทำถนนให้ประชาชนใช้..อย่างไหนดีกว่ากัน ??
@ เสธ น้ำเงิน4 : กดปุ่ม “ติดตาม” ด้านบนเพจ เพื่อรับข่าวครั้งต่อไป
http://www.facebook.com/topsecretthai
"กติกา" โปรดงดความเห็นในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในตอนนี้, งดนำข่าวลือเขาว่ามา , คำหยาบ , ป่วน , งดลิ้งใดๆ ทุกชนิด , งดข้อความจากแหล่งอื่น , งดภาพ , การให้ร้ายดูหมิ่นเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ที่ฝ่าฝืนจะถูกพิจารณาบล็อกเข้าเพจนี้..สามารถติดตามข่าวสั้นคลิ๊กที่http://www.facebook.com/thailandcoup

                         



                                                                                  

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การแปรรูปยาง

     น้ำยางสดที่กรีดได้จากสวนยาง สามารถนำไปแปรรูปได้หลากชนิดทั้งในรูปน้ำยางข้นและยางแห้ง ซึ่งได้แก่ ยางแท่ง ยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน ยางก้อนถ้วย ยางเครพ เป็นต้น
     5.1 น้ำยางข้น วิธีทำน้ำยาง นำน้ำยางสด (Latex) ที่ได้จากการกรีดต้นยางออกมาใหม่ๆ จะอยู่ในสภาพที่เรียกว่า Colloids ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นน้ำอยู่ประมาณ 60 % ส่วนที่เป็นของแข็งแต่ไม่ใช่ยาง เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต  มีอยู่ประมาณ 5%  มีทั้งที่อยู่ในรูปสารละลายและสารแขวนลอย ส่วนที่เหลือจะเป็นส่วนที่เป็นยาง (Rubber Hydrocarbon) ในลักษณะของอนุภาคแขวนลอยอยู่ในส่วนที่เป็นของเหลว แต่ละอนุภาคจะมีประจุไฟฟ้าลบซึ่งผลักกันให้อนุภาคเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา และไม่จับตัวกันเป็นก้อน เพื่อให้คงสภาพน้ำยางไว้จะมีการเติมสารละลายแอมโมเนียเช่น แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ (NH4OH) ลงไป เพื่อให้ประจุลบของ OH ไปคลุมอนุภาคยางคอยป้องกันประจุบวกภายนอกไม่ให้รวมกับอนุภาคยางจนเป็นกลางและจับเป็นก้อน จากนั้นจึงแยกเอาส่วนที่ไม่ใช่ยางซึ่งมีทั้งส่วนที่เป็นน้ำและส่วนที่เป็นของแข็งอื่นออกจากส่วนที่เป็นยางโดยใช้การเข้าเครื่องปั่น ส่วนที่เหลือจะเป็นน้ำยางข้นที่สามารถส่งจำหน่ายได้ต่อไป

     ส่วนยางแห้งซึ่งมีการแปรรูปหลายรูปแบบ ต้องทำให้อนุภาคยางจับตัวเป็นก้อน วิธีการคือใส่สารละลายกรดฟอร์มิกหรือกรดมด เพื่อให้ประจุบวกที่เกิดขึ้นไปทำให้ประจุไฟฟ้าของอนุภาคยางเป็นกลางจับตัวเป็นก้อนได้นั่นเอง
กรดฟอร์มิกมีสูตรโมเลกุล CH2O2 ในธรรมชาติพบในพวกมดและผึ้งซึ่งใช้ป้องกันตัวจากศัตรู
     5.2 การทำยางแท่ง จากสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ให้เหตุผลในการผลิตยางแท่งไว้ว่าเพื่อความสะดวกในการขนส่งและพร้อมใช้ในการผลิตสินค้าของโรงงานอุตสาหกรรมแบบเดียวกับยางเทียม
     การผลิตยางแท่งทำได้ง่ายและเร็วกว่าการทำยางแผ่นรมควันหรือยางเครพมาก หลักการคือ แทนที่จะทำเป็นยางแผ่นใหญ่ๆ จะใช้วิธีย่อยยางให้เป็นชิ้นเล็กๆ เสียก่อน นำไปอบด้วยความร้อน 100 - 110 องศาเซลเซียสให้ยางแห้ง แล้วจึงอัดเป็นแท่ง ใช้เวลาเพียง 4 - 5 ชั่วโมงก็เสร็จ ตามกรรมวิธีเป็นขั้นๆ ต่อ ไปนี้
     เมื่อได้น้ำยางสดมาจากสวนยาง จะกรองให้สะอาด แล้วเติมน้ำกรดฟอร์มิกเพื่อให้ยางแข็งตัว ยางจะแข็งตัวภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง เมื่อยางแข็งแล้วจึงนำเข้าเครื่องย่อย เพื่อฉีกหรือตัดยางออกเป็นชิ้นเล็กๆ แบนๆ  ขนาดประมาณปลายนิ้วก้อย ยางที่ถูกย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนี้ จะถูกล้างทำความสะอาด แล้วใส่ลงในกระบะโลหะ เพื่อนำเข้าอบความร้อนในเตาอบ ซึ่งให้ความ ร้อนระหว่าง 100 - 110 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ½ -     4 ½ ชั่วโมง เมื่อยางสุกจะเห็นเนื้อยางใสและมีสีน้ำตาลอ่อนๆ  จากนั้นจึงปล่อยให้ยางเย็นลงเหลือประมาณ 50 -60 องศาเซลเซียส จึงนำมาชั่งแล้วนำเข้าอัดเป็นแท่งด้วยเครื่องอัด  แล้วจึงห่อด้วยถุงพลาสติกบรรจุในลังไม้โปร่ง เพื่อส่งไปจำหน่ายต่อไป 
วิดีทัศน์ เรื่อง การทำยางแท่ง

     5.3 การทำยางแผ่น การแปรรูปยางเพื่อส่งจำหน่ายที่นิยมกันมากคือ การทำเป็นยางแผ่น การผลิตยางแผ่นคุณภาพดีนั้น มีหลักการง่าย ๆ คือ ทำยางให้สะอาดรีดแผ่นยางให้บางในการผลิตต้องเติมน้ำและน้ำกรดให้ถูกส่วน ทุกขั้นตอนการผลิตต้องมีการควบคุมความสะอาด   การเก็บรวบรวมน้ำยาง ถ้วยยาง และถังเก็บน้ำยางต้องสะอาดไม่มีขี้ยางหรือเศษไม้ปนจะทำให้ยางสกปรก จับตัวเป็นก้อนเร็ว กรองน้ำยางได้ยาก เครื่องมือทำยางแผ่นทุกชนิดต้องทำความสะอาดก่อนและหลังการใช้งาน
น้ำยางสดจะถูกนำมากรองด้วยตระแกรงลวดเบอร์40 และ 60 เพื่อเอาสิ่งสกปรกออก นำน้ำยางที่กรองเรียบร้อยแล้วใส่ภาชนะสะอาด เติมน้ำสะอาดโดยอัตราส่วนผสมระหว่างน้ำยางกับน้ำเป็น 3 : 2  กวนให้เข้ากัน เตรียมกรดฟอร์มิก ความเข้มข้น 90%โดยใช้กรดฟอร์มิก 2 ช้อนแกงใส่ลงในน้ำสะอาด 3กระป๋องนมที่อยู่ในภาชนะกระเบื้องเคลือบหรือพลาสติก แล้วกวนให้เข้ากัน ตวงน้ำกรดที่ผสมแล้วในอัตรา 1 กระป๋องนม ใส่ในน้ำยางที่ผสมน้ำแล้ว 5 ลิตร ใช้ใบพายกวนให้เข้ากัน (กรดฟอร์มิกชนิดความเข้มข้น 90 % 1 ลิตร ทำแผ่นยางได้ประมาณ 90-100 แผ่น) ขณะกวนน้ำยางจะมีฟองเกิดขึ้น ใช้ใบพายกวาดรวบรวมใส่ภาชนะเพื่อขายเป็นเศษยาง ถ้าไม่กวาดฟองน้ำยางออก เมื่อนำยางแผ่นไปรมควันจะทำให้เห็นเป็นรอยจุดฟองอากาศในแผ่นยาง ทำให้ยางที่ได้คุณภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น  เมื่อเติมกรดฟอร์มิกแล้ว ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 30-45 นาที ยางจะจับตัวเป็นก้อน เมื่อยางจับตัวแล้วจึงนำแผ่นยางไปนวดด้วยมือหรือไม้กลม นวดยางให้หนาประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วนำเข้าเครื่องรีดเรียบ 3 – 4 เที่ยวจนแผ่นยางบางประมาณ 3-4 มิลลิเมตรจากนั้นนำแผ่นยางเข้าเครื่องรีดดอก ล้างทำความสะอาดอีกครั้งแล้วนำไปผึ่งในที่ร่มก่อนนำไปรมควัน เพื่อช่วยให้แผ่นยางแห้งเร็วขึ้น ขาวสวนยางอาจใช้การผึ่งหรือตากจนยางแห้งก็ได้แต่คุณภาพของยางจะต่ำลง 
วิดีทัศน์ เรื่อง การทำยางแผ่น
วิดีทัศน์ เรื่อง การรมควันยาง
     5.4 ยางเครพและยางก้อนถ้วย  ยางที่แปรรูปเพื่อจำหน่ายชนิดหนึ่งซึ่งเราเคยได้ยินชื่อคือ ยางเครพ(Crepe Rubber) สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้ให้ความรู้ไว้ สรุปได้ว่า ยางเครพเป็นยางที่ได้จากการนำเศษยางไปรีดด้วยเครื่องรีดยางสองลูกกลิ้ง เรียกว่าเครื่องเครพ  มีการใช้น้ำในการทำความสะอาดในระหว่างรีด เพื่อนำสิ่งสกปรกออกจากยาง  เนื่องจากยางที่ใช้โดยมากเป็นยางที่มีมูลค่าต่ำ มีสิ่งสกปรกเจือปนค่อนข้างมาก เช่น เศษยางก้นถ้วย เศษยางที่ติดบนเปลือกไม้หรือติดบนดิน และเศษยางที่ได้จากการผลิตยางแผ่นรมควัน เป็นต้น หลังจากรีดในเครื่องเครพแล้วจะนำยางไปผึ่งแห้ง หรืออบแห้งด้วยลมร้อน ยางเครพที่ได้จะมีสีค่อนข้างเข้ม
ส่วนยางเครพขาวเป็นยางเครฟที่ได้มาจากน้ำยาง ที่มีการกำจัดสารเกิดสีในน้ำยาง คือ สารเบต้า แคโรทีน ซึ่งมีสีเหลืองอ่อน โดยใช้การฟอกสียางให้มีสีขาวด้วยสารเคมี เช่น xylyl mercaptane (0.05 %) หรือ totyl mercaptan (0.05 %) และ sodium bisulfide (0.5-0.75 %) ก่อนการทำให้ยางจับตัวกันเป็นก้อนด้วยกรดฟอร์มิก ยางเครพขาวเป็นยางที่มีคุณภาพและราคาค่อนข้างสูง
     ยางแปรรูปอีกชนิดหนึ่งที่เกษตรกรทำได้เองโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือใด ๆ ช่วยคือ ยางก้อนหรือยางก้อนถ้วย โดยยางก้อนถ้วยที่มีคุณภาพจะต้องมีลักษณะเป็นรูปถ้วย สะอาด สีสวย ไม่มีสิ่งปะปนและไม่มีกลิ่นเหม็น มีน้ำหนักประมาณ 80-500 กรัม
   

     การผลิตยางก้อนถ้วย เริ่มจากเช็ดถ้วยยางให้สะอาดก่อนรองน้ำยาง กรีดยางตามปกติจนครบทั้งแปลง เมื่อน้ำยางหยุดไหลจึงหยอดน้ำกรดฟอร์มิคเจือจาง 10% ประมาณ 12-15 มิลลิลิตร  คนให้เข้ากันปล่อยให้น้ำยางจับตัวเป็นก้อนถ้วย จากนั้นจึงมาเก็บในวันกรีดถัดไป
วิดีทัศน์ เรื่อง ยางเครพและยางก้อนถ้วย
การทำถนน
.https://www.youtube.com/watch?v=90ERSc_Y3Kk

เอกสารอ้างอิง
http://mrnainoy-myblog.blogspot.com/2012/05/blog-post_29.html#!/2012/05/blog-post_29.html
http://www.yangpara.com/Plant/rubbermethod.htm
http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=3&chap=4&page=t3-4-infodetail08.html