วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

ถุงมือยางพารรา

ถุงมือยางพารา
อุตสาหกรรมยางพารา เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญมากของไทย สร้างรายได้นับแสนล้านบาท จากข้อมูลของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ในปี 2552 มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยางพารามีมูลค่าสูงถึง 402,563 ล้านบาท นอกจากอุตสาหกรรมยางพารายังมีผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจระดับชาติแล้ว ยังมีผลกระทบต่อแรงงาน โดยมีผู้อยู่ในอุตสาหกรรมประมาณ 106,844 คน อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางกว่าหนึ่งล้านครัวเรือน นอกจากผลกระทบที่กล่าวมาแล้ว สวนยางพาราเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ โดยมีข้อมูลจากสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร วงจรชีวิตของสวนยาง 25 ปี สามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 42.65 เมตริกตันต่อไร่ 

   ที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่ายางพารานับว่ามีความสำคัญต่อประเทศชาติในหลาย ๆ ด้าน และเมื่อกล่าวถึงผลิตภัณฑ์ยาง ปัจจุบันเราคงคุ้นเคยและเคยชินกับการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาจากยางธรรมชาติ จนบางครั้งอาจมองเป็นเรื่องปกติและอาจจะขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น ยางเส้น ยางรัดของ ยางฟองน้ำ รองเท้ายาง หัวนมยาง ลูกโป่ง และถุงยางอนามัย เป็นต้น แต่ยังมีผลิตภัณฑ์ยางอีกชนิดหนึ่งที่เราอาจไม่คุ้ยเคย หรือมีใช้ในชีวิตประจำวันมากนัก คือ ถุงมือยาง ปัจจุบันมีการใช้งานอยู่ในหลายรูปแบบ และหลายวงการอุตสาหกรรม ได้แก่ ถุงมือยางสำหรับวงการแพทย์ (Medical Glove) ถุงมือยางสำหรับใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial Glove) และ ถุงมือยางสำหรับใช้ในครัวเรือน (Household Glove) ซึ่งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มถุงมือยาง เราเรียกว่า ผลิตภัณฑ์ยางจากกระบวนการจุ่ม (Dipping Products) อันที่จริง กลุ่มผลิตภัณฑ์จากกระบวนการจุ่ม (Dipping) ยังมีอีกหลายชนิด เช่น หัวดูดนมเด็ก กระเป๋ายางน้ำร้อน ยางสวมนิ้ว ชุดกีฬาทางน้ำ ลูกโป่ง ตุ๊กตายาง และอื่น ๆ อีกมากมาย 

อ่านต่อที่//http://thailandindustry.com/guru/view.php?id=19105

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

การทำถนนยางพารา

ถนนยางพารา
จากการที่รัฐบาล ตั้งเป้าหมายแปรรูปยางพาราเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 500,000 ตัน จะเพิ่มรายได้ให้กับประเทศเป็น 2 เท่าของการส่งยางดิบ 3.6 ล้านตันออกไปต่างประเทศ ทำให้ดุลการค้ายางดิบที่เหลือของโลก สามารถเปลี่ยนแปลงราคายางดิบได้อย่างมีพลังด้วย
อีกสิ่งที่น่าสนใจคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงมีความพยายามจะผลักดันโครงการนำยางธรรมชาติ (ยางพารา) มาใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้าง และบำรุงรักษาถนนอีกครั้ง ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา มีการวิจัยอย่างจริงจัง มีการทดสอบมานานนับ 10 ปีแล้ว ในการนำยางพารามาผสมกับยางมะตอยเพื่อราดถนน
พ.ศ.2500 มีการราดถนนผสมยางพาราทำครั้งแรก แต่ในยุคนั้นไม่มีข้อมูลทางวิชาการมาสนับสนุนว่า คุณสมบัติมันดีขึ้นอย่างไร รู้แต่ว่ามันเหนียวขึ้น แข็งแรงขึ้น แต่ไม่มีข้อมูลเป็นตัวเลขเชิงวิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2542 ยางราคาตกต่ำ จึงมีการรื้อฟื้นเรื่องนี้ใหม่ เป็นที่มาของการทำวิจัยเชิงลึก ซึ่งเริ่มแรกเป็นงานวิจัยในห้องแล็บ เพื่อหาเปอร์เซ็นต์ที่เหมาะสมของยางพารา จนกระทั่งได้ตัวเลขที่ลงตัวคือ 5 - 6% โดยคุณสมบัติที่ได้คือ แข็งแรงมากขึ้น ทนต่อความร้อนมากขึ้น
มีจุดหลอมตัวสูงขึ้นจาก 50 องศาเป็น 60 องศา และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น มีการคืนตัวกลับดีขึ้น มีการสร้างเครื่องผสมยางพารา กับยางมะตอยเป็นไพลอตโปรเจ็กต์ 2 แบบคือ เครื่องผสมยางแห้ง และเครื่องผสมน้ำยางข้น โดยผสมได้ครั้งละ 5 ตัน
พ.ศ. 2545 กรมทางหลวง ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยฯ ทดลองราดถนนสาธารณะที่ด้านหน้าศูนย์วิจัย ระยะทางประมาณ 300 เมตร จากนั้นได้เก็บตัวอย่างถนนที่เสร็จแล้ว 2 แบบ ไปทดสอบในห้องแล็บ ทดสอบใช้ล้อเหล็กวิ่งทับจำนวน 2 หมื่นรอบ ผลปรากฏว่า ถนนที่ตัดมาจากผสมยางพารายุบน้อยกว่าที่ไม่ผสม ในอัตราส่วน 1 ต่อ 2.9 เท่า
แต่เนื่องจากสมัยนั้นไม่มีเครื่องผสมในเชิงพาณิชย์ เพราะปกติการทำถนนแต่ละครั้ง ต้องผสมเป็นร้อยตัน จึงได้ทดลองทำถนนในหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรทั่วทุกภาค รวมแล้วประมาณ 50 แห่ง กรมทางหลวง ยอมรับผลว่าดีกว่า ทนกว่าจริง ถนนหน้าศูนย์วิจัยนี้ใช้มา 12 ปีแล้ว ยังไม่ต้องซ่อมเลย แค่ให้ทนกว่าเท่าเดียวก็คุ้มแล้ว
พ.ศ. 2556 กรมทางหลวง ได้ออกสเป็กถนนแอสฟัลติก ที่ราดด้วยยางมะตอยผสมยางพาราแล้ว และปีที่แล้ว สำนักงบประมาณ ก็ออกราคากลางมาเป็นราคากลางเฉพาะผิวทางมาตรฐาน 5 เซนติเมตร ในราคาตารางเมตรละ 380 บาท ขณะที่แบบเดิมตารางเมตรละ 320 บาท แต่ถ้าคิดทั้งถนนรวมโครงสร้างด้วย ราคาจะขึ้นมาแค่ 5% ของราคาถนนทั้งหมด
เช่น สร้างถนน 1,000 ล้านบาท ถ้าใช้แบบผสมก็เพิ่มขึ้นมาอีก 5% เท่านั้น คือ 1,050 ล้านบาท แต่ถ้ามันทนกว่า 1 เท่า และช่วยเหลือชาวสวนยาง ย่อมจะคุ้มและได้ประโยชน์ โดยประเทศมาเลเซียสนใจงานวิจัยนี้มาก เมื่อปลายปี 2557 คณะรัฐมนตรีมาเลเซียเดินทางมาดูงานเรื่องถนนโดยเฉพาะ หลังจากนั้นได้ส่งคนจาก Malaysian Rubber Board-MRB และ กรมทางหลวง มาศึกษารายละเอียด
พ.ศ. 2558 ศูนย์วิจัยฯ จะทำวิจัยต่อยอดหาค่า Breaking Resistance เกี่ยวกับการลื่นไถล ซึ่งปกติจะทำในล้อรถ แต่จะมีการดัดแปลงมาทำในถนน เมื่อได้ค่าพวกนี้แล้ว จะนำไปเสนอต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา หรือ จีน หากได้รับความสนใจ ผลที่ได้คือจะมีการใช้ยางมากขึ้น
สำหรับเมืองไทยตอนนี้ทำได้ทันที เพราะว่ามีสเป็กแล้ว มีราคากลางแล้ว เอกชนตอนนี้ก็มีคนทำผสมแล้ว ถ้าทำได้ยางส่วนหนึ่งในประเทศจะถูกนำไปใช้จำนวนมาก ตอนนี้ที่ประชุมนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้ ได้ข้อสรุปว่า มีทางเดียวคือใช้ยางพาราผสมราดถนน แม้ว่าค่าก่อสร้างจะสูงกว่าปกติก็ต้องทำ
ขั้นตอนการก่อสร้าง เหมือนกับการทำถนนทั่วไปทุกอย่าง แต่จะยุ่งยากในขั้นตอนการผลิตที่ต้องนำหัวเชื้อที่เรียกว่า Para Ac 60/70 ซึ่งเป็นส่วนผสมระหว่างยางพารา กับ ยางมะตอย มากวนผสมให้เข้ากับยางมะตอย ซึ่งต้นทุนก่อสร้างจะแพงกว่าปกติประมาณ 30%
แต่เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะมีคุณสมบัติที่แข็งแรงกว่าเดิม ตอนนี้ผู้ผลิต Para Ac 60/70 มีเอกชนบริษัทเดียวที่ผลิตได้ แต่หากมีนโยบายจากภาครัฐที่ชัดเจนให้ภาครัฐทุกหน่วยงาน ก่อสร้างและปรับปรุงถนนด้วยยางพารา ต่อไปจะมีทุกบริษัท
ขณะนี้ทหารได้เริ่มแผนงานซ่อมแซมถนน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 37 เส้นทาง รวมระยะทาง 164 กิโลเมตร ภายใต้งบประมาณ 826 ล้านบาท ในจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และในพื้นที่ 4 อำเภอจังหวัดสงขลา ได้แก่ เทพา สะบ้าย้อย นาทวี และจะนะ โดยจะใช้น้ำยางพาราที่รับซื้อจากเกษตรกร มาใช้ซ่อมถนน
ซึ่งจะมีประสิทธิภาพกว่าถนนที่ราดยางมะตอย 2.9 เท่า อายุการใช้งานมากกว่า 2 เท่า สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย จากการบำรุงรักษาถนนในระยะยาวได้ แม้จะมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าการใช้ยางมะตอยถึง 15 - 20% คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปี 2558
อบจ.สงขลา อาสาทำเป็นแห่งแรก นำร่องราดถนนสายบ้านเกาะหมี่ อ.หาดใหญ่ ระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร พร้อมคูระบายน้ำใช้งบประมาณ 27 ล้านบาท จะดำเนินการในต้นปี 2558 นี้ ขณะเดียวกันในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กองทัพบก ก็กำลังจะเริ่มบิ๊กโปรเจ็กต์ทำถนนยางพารา
สำนักงานทางหลวงชนบทตรัง นำร่องสร้างถนนยางพาราสายแรกของ จ.ตรัง เพื่อความปลอดภัยให้ผู้ใช้รถใช้ถนน โดยได้จ้างเหมาทำถนนลาดยางพาราสเลอรี่ซีล บ้านโคกยาง อ.สิเกา ถึง อ.กันตัง จ.ตรัง ความยาว 2,620 เมตร ผิวทางกว้าง 6 เมตร ไหล่ทางข้างละ 1 เมตร
ทางจังหวัด และองค์กรท้องถิ่น ได้พาคณะสื่อมวลชน มาดูการซีลยางพาราหน้าผิวจราจรบนถนนสายดังกล่าว ซึ่งผู้รับเหมาได้ดำเนินการซีลยาง เพื่อให้คณะดูประสิทธิภาพของยางพารา ส่วนผสมของยางพาราธรรมชาติกับยางมะตอยนั้นผสมแค่ 5% เท่านั้น
ถนนเส้นนี้ใช้ยางพาราไป 600 กิโลกรัม คุณสมบัติยางพาราธรรมชาติ มีความทนทาน และรถวิ่งยึดเกาะถนน ราคาจะสูงกว่าปกติประมาณ 10% แต่คุ้มค่าและช่วยชาวสวนยาง
ในภาคเหนือ มีการนำร่องราดถนนผสมยางพารา กับยางมะตอย โปรเจ็กต์ใหญ่ปรับปรุงถนนขนาด 2 ช่องจราจร กว้าง 6 เมตร ระยะทาง 6.6 กิโลเมตร ภายในพื้นที่เขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่ โดยเพิ่งทำเสร็จในเดือน ธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีโครงการเล็ก ๆ อีก 5-6 โครงการ
ยางพารา นำมาถนนได้จริง และมีผลการวิจัยจากหน่วยงานของรัฐรับรอง มีราคากลางของสำนักประมาณ มีสเป็กถนนแอสฟัลติก ที่ราดด้วยยางมะตอย ผสมยางพารา โดยกรมทางหลวง ไม่ลื่นเมื่อถูกฝนอย่างที่หลายคนเข้าใจ..เงินทองไม่รั่วไหล ไม่ต้องรอเมืองนอกซื้อ ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ
แก๊งค์เผาไทย และกลุ่มติดอาวุธ นปช.เอายางมาเผาเมือง 2 ปีซ้อน..แต่รัฐบาลนี้เอายางพารา มาทำถนนให้ประชาชนใช้..อย่างไหนดีกว่ากัน ??
@ เสธ น้ำเงิน4 : กดปุ่ม “ติดตาม” ด้านบนเพจ เพื่อรับข่าวครั้งต่อไป
http://www.facebook.com/topsecretthai
"กติกา" โปรดงดความเห็นในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในตอนนี้, งดนำข่าวลือเขาว่ามา , คำหยาบ , ป่วน , งดลิ้งใดๆ ทุกชนิด , งดข้อความจากแหล่งอื่น , งดภาพ , การให้ร้ายดูหมิ่นเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ที่ฝ่าฝืนจะถูกพิจารณาบล็อกเข้าเพจนี้..สามารถติดตามข่าวสั้นคลิ๊กที่http://www.facebook.com/thailandcoup